เมนู

มนุษย์ทั้งหลาย แถบถิ่นปัจจันตประเทศนิมนต์
พระตถาคตแล้ว มีใจเบิกบาน ช่วยกันแผ้วถางหนทาง
เสด็จมาของพระองค์.
สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตน สลัดผ้า
เปลือกไม้เหาะไปในบัดนั้น.
เห็นคนที่เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจแล้ว ก็ลงจากท้องฟ้า ถามมนุษย์ทั้งหลายไปทันที.
มหาชนผู้เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจแล้ว พวกท่านแผ้วถางหนทางเพื่อใคร.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจนฺตเทสวิสเย ได้แก่ ชนบทที่เข้าใจ
กันว่า ปัจจันตประเทศอยู่ข้างหนึ่งของมัชฌิมประเทศนั่นเอง. บทว่า ตสฺส
อาคมนํ มคฺคํ
ความว่า หนทางที่พระองค์พึงเสด็จมา. บทว่า อหํ เตน
สมเยน
ได้แก่ ในสมัยนั้น เรา. คำนี้เป็นตติยาวิภัตติพึงเห็นว่าลงในอรรถ
สัตตมีวิภัตติ. บทว่า สกสฺสมา ได้แก่ ออกจากอาศรมบทของตน. บทว่า
ธุนนฺโต แปลว่า สลัดทิ้ง. พึงทราบว่า สองบทนี้ว่า เตน สมเยน และ
ตทา เชื่อมความกับกิริยา ออกไป ของบทต้น และกิริยาไปของบทหลัง เพราะ
มีความอย่างเดียวกัน. นอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ. บทว่า ตทา
แปลว่า ในสมัยนั้น.
บทว่า เวทชาตํ ได้แก่ เกิดโสมนัสเอง. 3 บทนี้ว่า ตุฏฺฐหฏฺฐํ
ปโมทิตํ
เป็นไวพจน์ของกันและกัน แสดงความของกันและกัน. อีกอย่าง

หนึ่ง ยินดีด้วยสุข ร่าเริงด้วยปีติ บันเทิงใจด้วยปราโมช. บทว่า โอโรหิตฺวาน
แปลว่า ลงแล้ว. บทว่า มนุสฺเส ปุจฺฉิ แปลว่า ถามผู้คนทั้งหลาย. หรือว่า
บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ตาวเท แปลว่า ครั้งนั้น อธิบายว่าขณะนั้น
นั่นเอง. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่ถาม จึงตรัสคำว่า ยินดีร่าเริง
บันเทิงใจ
เป็นต้น ในคำนั้น พึงนำศัพท์ว่า โสเธติ มาประกอบความอย่าง
นี้ว่า มหาชนนี้ยินดีร่าเริงแล้ว มีใจบันเทิงแล้ว ย่อมแผ้วถางทาง เพราะเหตุ
ไรจึงแผ้วถางทาง หรือว่า แผ้วถางทาง เพื่อประโยชน์แก่ใคร ความนอกจาก
นี้ ไม่ถูก. บทว่า โสธียติ ได้แก่ ทำความสะอาด. คำเหล่านี้ว่า มคฺโค
อญฺชสํ วฏุมายนํ
เป็นไวพจน์ของทางทั้งนั้น.
มนุษย์เหล่านั้นถูก สุเมธดาบส นั้นถามอย่างนี้แล้วจึงตอบว่า ท่าน
สุเมธเจ้าข้า ท่านไม่รู้อะไร พระพุทธเจ้า พระนามว่า ทีปังกร ทรงบรรลุ
พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริก
ไปในชนบทมาถึงนครของพวกเรา ประทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร
พวกเรานิมนต์พระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงช่วยกันแผ้วถางทางเสด็จมาของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตสดับคำนั้นแล้ว
ก็คิดว่า แม้คำโฆษณาว่า พุทฺโธ นี้ก็หาได้ยาก จะป่วยกล่าวไปไยถึงความ
เกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า ถ้าอย่างนั้น แม้เราจะร่วมกับคนพวกนี้ช่วยกันแผ้ว
ถางทางก็ควรแท้. ท่านจึงกล่าวกะมนุษย์พวกนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่าน
แผ้วถางทางนี้เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ก็จงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เรา
ก็จักร่วมกับพวกท่าน ช่วยแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า พวกมนุษย์เหล่านั้น
ก็รับปากว่า ดีสิ เมื่อรู้อยู่ว่า ท่านสุเมธบัณฑิตผู้นี้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
จึงกำหนดโอกาสแห่งหนึ่ง ซึ่งแผ้วถางยังไม่ดี ถูกน้ำเซาะพังขรุขระอย่างเหลือ

เกิน มอบให้ด้วยกล่าวว่า ขอท่านจงแผ้วถางโอกาสตรงนี้ และตกแต่งด้วย.
สุเมธบัณฑิตเกิดปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ จึงคิดว่า เราสามารถที่จะทำ
โอกาสแห่งนี้ให้น่าชมอย่างยิ่งได้ด้วยฤทธิ์ แต่เมื่อทำอย่างนั้นแล้วก็ยังไม่จุใจเรา
แต่วันนี้ เราจะช่วยขวนขวายด้วยกายจึงควร แล้วจึงนำดินฝุ่นมาถมประเทศแห่ง
นั้นให้เต็ม.
แต่เมื่อสุเมธบัณฑิตนั้น แผ้วถางประเทศแห่งนั้นยังไม่เสร็จ ทำค้าง
ไว้ มนุษย์ชาวรัมมนครก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาอาหารว่า อาหาร
เสร็จแล้วพระเจ้าข้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้นกราบทูลเวลาอาหารอย่างนั้นแล้ว
พระทศพลทรงนุ่งอันตรวาสกสองชั้นสีเสมือนดอกชะบา ปิดมณฑลทั้งสาม ทรง
คาดประคดเอว อันมีสิริดังสายฟ้าแลบเหนืออันตรวาสกนั้น เหมือนล้อมกอง
ดอกชะบาด้วยสายสร้อยทอง ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดงเสมือนดอก
ทองกวาวที่ชุ่มด้วยน้ำครั่ง ประหนึ่งรดน้ำครั่งลงเหนือยอดเขาทอง ประหนึ่ง
ล้อมเจดีย์ทองด้วยตาข่ายแก้วประพาฬ ประหนึ่งสวมของมีค่าทำด้วยทองด้วยผ้า
กัมพลแดง และประหนึ่งปิดดวงจันทร์ในฤดูสารทด้วยพลาหกแดง เสด็จออก
จากประตูพระคันธกุฎี ประหนึ่งราชสีห์ออกจากถ้ำทอง ประทับยืนที่หน้าพระ
คันธกุฎี. ขณะนั้น ภิกษุทั้งหมด ถือบาตรจีวรของตนๆ แวดล้อมพระผู้มี
พระภาคเจ้า ภิกษุที่ยืนแวดล้อมเหล่านั้น ก็ได้เป็นอย่างนั้น.
ก็ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มักน้อย สันโดษผู้บอกกล่าว
ผู้อดทนต่อคำว่ากล่าว เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ถูกแนะ
นำแล้ว ผู้ติบาป.
ภิกษุแม้ทุกรูป ถึงพร้อมด้วยศีล ฉลาดในสมาธิ
และฌาน ถึงพร้อมด้วยปัญญาและวิมุตติ ผู้ประกอบ
ด้วยจรณะ 15.

เป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว ถึงความชำนาญ มีฤทธิ์
มียศ มีอินทรีย์สงบ ถึงความฝึกแล้ว เป็นผู้หมดจด
แล้ว สิ้นภพใหม่แล้ว.

ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เอง ปราศ-
จากราคะ อันเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโทสะ อัน
เหล่าภิกษุผู้ปราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโมหะ อันเหล่าภิกษุผู้
ปราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ช่างงามรุ่งโรจน์อย่างเหลือเกิน. ครั้งนั้น พระ-
ศาสดา อันเหล่าภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้ได้อภิญญา 6
จำนวนสี่แสนรูปแวดล้อมแล้ว เสด็จพุทธดำเนินสู่ทางนั้นที่เขาประดับตกแต่ง
แล้ว ด้วยพุทธลีลาหาที่เปรียบมิได้ ซึ่งกำลังพระกุศลที่ทรงสะสมได้ตลอดสมัย
ที่นับไม่ได้บันดาลให้เกิดแล้ว ประหนึ่งท้าวสหัสนัยน์ ผู้มีพระเนตรพันดวงอัน
หมู่เทพแวดล้อมแล้ว ประหนึ่งท้าวหาริตมหาพรหมอันหมู่พรหมแวดล้อมแล้ว
และประหนึ่งดวงจันทร์ในฤดูสารท อันหมู่ดวงดาวแวดล้อมแล้ว.
เขาว่าด้วยพระรัศมีมีสีดังทอง พระจอมปราชญ์
ผู้มีวรรณะดั่งทอง ทรงทำต้นไม้ในหนทางให้มีสีดั่ง
ทอง ทรงทำดอกไม้ให้มีสีดั่งทอง เสด็จพระพุทธดำ-
เนินไปสู่ทาง

แม้สุเมธดาบส จ้องตาตรวจดูพระอัตภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทีปังกร ผู้เสด็จมาตามทางที่เขาประดับตกแต่งแล้วนั้น ซึ่งประดับด้วยมหาปุริส
ลักษณะ 32 ประการ ฉาบด้วยอนุพยัญชนะ 80 ล้อด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง
มีสิริเหมือนแก้วมณีสีดอกอินทนิล กำลังเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ 6ประดุจ
สายฟ้าแลบมีประการต่าง ๆ ในอากาศ มีพระรูปพระโฉมงดงาม แล้วคิดว่า

วันนี้ เราสละชีวิตเพื่อพระทศพลก็ควร ตกลงใจว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่า
ทรงเหยียบที่ตมเลย ขอทรงเหยียบหลังเราเสด็จไปพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน
รูป เหมือนทรงเหยียบสะพานที่มีแผ่นกระดานเป็นแก้วผลึกเถิด ข้อนั้นก็จัก
เป็นประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วก็เปลื้องผม
ปูลาดท่อนหนังชฎาและผ้าเปลือกไม้ลงที่ตม ซึ่งมีสีดำ แล้วทอดตัวนอนบนหลัง
ตมในทีนั้นนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
มนุษย์เหล่านั้นถูกเราถามแล้วก็ตอบว่า พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ผู้ยอดเยี่ยม ผู้ชนะ ผู้นำ
โลกทรงอุบัติแล้วในโลก.
พวกเราแผ้วถางหนทาง ที่ชื่อว่ามรรค อัญชสะ
วฏุมะ อายนะ ก็เพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
เพราะได้ยินคำว่า พุทโธ ก็เกิดปีติขึ้นทันที เรา
เมื่อกล่าวว่า พุทโธ พุทโธ ก็ซาบซึ้งโสมนัส.
เรายินดีปีติใจแล้ว ยืนคิดในที่นั้นว่า จำเราจัก
ปลูกพืชทั้งหลายในพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้ ขอ
ขณะอย่าล่วงไปเปล่าเลย.
เราจึงกล่าวว่า ผิว่าพวกท่านแผ้วถางหนทาง
เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอพวกท่านจงให้โอกาสแห่ง
หนึ่งแก่เราด้วย ถึงตัวเราก็จักแผ้วถางหนทาง.
มนุษย์เหล่านั้น ได้ให้โอกาสแก่เรา เพื่อแผ้ว
ถางหนทางในครั้งนั้น เราคิดว่า พุทโธ พุทโธ ไปพลาง
แผ้วถางหนทางไปพลางในครั้งนั้น.

เมื่อโอกาสของเรายังไม่ทันเสร็จ พระชินมหา
มุนีทีปังกร พร้อมด้วยภิกษุสี่แสนรูป ซึ่งเป็นผู้มี
อภิญญา 6 ผู้คงที่ ผู้สิ้นอาสวะ ผู้ไร้มลทินก็เสด็จ
พุทธดำเนินไปยังหนทาง.
การรับเสร็จก็ดำเนินไป เภรีทั้งหลายก็ประโคม
มนุษย์และเทวดาทั้งหลายบันเทิงใจแล้ว ก็พากันแซ่
ซ้องสาธุการ.
พวกเทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม่พวกมนุษย์
เห็นพวกเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ก็ประ-
คองอัญชลี ตามเสด็จพระตถาคต.
พวกเทวดาก็บรรเลงด้วยดนตรีทิพย์ พวกมนุษย์
ก็บรรเลงด้วยดนตรีมนุษย์ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง
พวกก็บรรเลงตามเสด็จพระตถาคต
ในอากาศ พวกเทวดา เหล่าเดินหน ก็โปรยดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะอันเป็นของทิพย์
ไปทั่วทิศานุทิศ.
ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน ก็โปรยจุรณ
จันทน์ และของหอมอย่างดี อันเป็นของทิพย์ไปสิ้น
ทั่วทิศานุทิศ.
พวกมนุษย์ ที่ไปตามภาคพื้นดิน ก็ชูดอกจำปา
ดอกช้างน้าว ดอกกระทุ่ม ดอกกระถินพิมาน ดอก
บุนนาค ดอกเกด ทั่วทิศานุทิศ.

เราเปลื้องผม ปูลาดผ้าเปลือกไม้และท่อนหนัง
ลงบนตมในที่นั้น นอนคว่ำหน้า.
ด้วยประสงค์ว่า ขอพระพุทธเจ้ากับศิษย์ทั้งหลาย
จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่าทรงเหยียบที่ตมเลย
ข้อนี้ จักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยากํสุ แปลว่า พยากรณ์แล้ว. ปาฐะว่า
ทีปงฺกโร นาม ชิโน ตสฺส โสธียตี ปโถ ดังนี้ก็มี. บทว่า โสมนสฺสํ
ปเวทยึ ความว่า เสวยโสมนัส. บทว่า ตตฺถ ฐตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในประ-
เทศที่ลงจากอากาศนั่นเอง. บทว่า สํวิคฺคมานโส ได้แก่ มีใจประหลาด
เพราะปีติ. บทว่า อิธ ได้แก่ ในบุญเขตคือพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้. บทว่า
พีชานิ ได้แก่ พืชคือกุศล. บทว่า โรปิสฺสํ ได้แก่ จักปลูก. บทว่า ขโณ
ได้แก่ ชุมนุมขณะที่ 9 เว้นจากอขณะ 8 ขณะนั้นหาได้ยากเราก็ได้แล้ว. บทว่า
เว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มา อุปจฺจคา ความว่า ขณะนั้น อย่าได้เป็น
ไปล่วง คืออย่าล่วงเลยไป. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้. บทว่า เต ได้แก่
พวกมนุษย์ที่เราถาม. บทว่า โสเธมหํ ตทา ตัดบทเป็น โสเธม อหํ ตทา.
บทว่า อนิฏฺฐิเต ได้แก่ ยังไม่เสร็จ ทำค้างไว้.
ในบทว่า ขีณาสเวหิ นี้ อาสวะมี 4 คือ กามาสวะ ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะ 4 เหล่านี้ของภิกษุเหล่าใดสิ้นไปแล้ว ละแล้ว
ถอนแล้ว ระงับแล้ว ไม่ควรเกิด อันไฟคือญาณเผาแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่อ
ว่าขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีมลทิน ก็
เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะนั่นเอง.